วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันขอบคุณพระเจ้า หรือ thank giving day


เมื่อฤดูใบไม้ร่วงของปีคริสต์ศักราชที่ 1621 สำหรับชาวอินเดียนแดงเผ่า Wampanoag ถือเป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวหรือที่เรียกว่า Keepunumuk ซึ่งในปีนั้น สมาชิก Wampa-noag จำนวน 90 คน ได้ร่วมฉลองและแบ่งปัน อาหารร่วมกับนักล่าอาณานิคมชาวอังกฤษ จำนวน 52 คน ที่มากับเรือ Mayflower และยังคงรอดชีวิต...Wampanoag เป็นภาษา Native American หมายความว่า "Eastern People" หรือ "People of the First Light" หรือผู้ที่เห็น ดวงอาทิตย์ก่อน...เป็นผู้ที่ตั้งรกรากนับเป็นหมื่นปี อยู่บนผืนดินของหมู่บ้าน Patuxet ซึ่งต่อมาชาวอังกฤษได้เปลี่ยนชื่อเป็น Plymouth ที่เป็นที่ตั้งของรัฐ Massachusetts ในปัจจุบัน... เป็นชาวพื้นเมืองที่อเมริกันเรียกว่า "Native American" และที่คนไทยเรารู้จักกันในนามของ "อินเดียนแดง"เมื่อต้นฤดูหนาวของช่วงปีคริสต์ศักราชที่ 1620 เป็นช่วงเวลาที่ชาวอังกฤษจำนวน 101 เข้าเทียบฝั่งที่เมือง Patuxet ซึ่งในขณะนั้นกลาย เป็นเมืองร้างจากการแพร่ระบาดของกาฬโรค และผู้มาเยือนกลุ่มนี้ก็ต้องเผชิญกับโรคร้ายเช่นเดียวกัน โดยคร่า ชีวิตชาวอังกฤษไปกว่าครึ่ง...ดังนั้นเมื่อฤดูเก็บเกี่ยวมาเยือนในช่วงปลายปี ผู้ที่รอดชีวิตจากโรคร้ายซึ่งประกอบ ด้วย Massosoit ผู้เป็นหัวหน้าเผ่าของ Wampanoag กับสมาชิก Wampanoag อีก 90 คน และชาวอังกฤษ อีก 52 คน ได้ร่วมฉลองการเก็บเกี่ยวที่สำเร็จลุล่วงด้วยดีเป็นเวลานานถึง 3 วัน 3 คืน...ซึ่งไม่ได้เป็นวันแรก ของเทศกาล Thanksgiving (The First Thanksgiving) และไม่ได้เป็นวันทางศาสนาที่หลายคนเข้าใจกัน...ข้อความข้างต้นที่ผู้เขียนนำมาเล่านั้น เป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์อเมริกาที่ถูกฉีกหายไป...เป็นเรื่องราวที่ชาวอเมริกัน โดยเฉพาะเด็กๆ ไม่เคยเรียนรู้เรื่องราวของ Thanksgiving อย่างแท้จริง รู้แต่เพียงจาก เรื่องเล่าเป็นนิทาน นิยายต่อๆ กันมาว่า Thanksgiving เป็นเทศกาลที่ชาว Pilgrims หรือผู้กล้าหาญ ผู้เข้ามาตั้ง รกรากกลุ่มแรกในแผ่นดินอเมริกา ได้เชิญชาว Native เพียงไม่กี่คนมาร่วมอาหารค่ำ เพียงแค่นั้น...แต่เรื่องของชนเผ่า Wampanoag ซึ่งเป็นเรื่องราวจริงๆ ตามหลักฐานประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องราวของประเทศล่าอาณานิคมจากฝั่งยุโรปที่เข้ามายึดครองดินแดน เปลี่ยน วิถีชีวิต วัฒนธรรมความเป็นอยู่และศาสนาของชาว Native...กลับไม่มีใครกล่าวถึง...เรื่องราวของ Thanksgiving หรือ The First Thanksgiving ที่ชาวอเมริกันรู้จักนั้นมีที่มาแตกต่างกัน โดยในช่วงศตวรรษที่ 18 เป็นช่วงที่นักล่าอาณานิคมได้ เข้ามาครอบครองดินแดนแล้ว ถือว่าเป็นวันขอบคุณเหล่าทหารผู้กล้าหาญที่นำชัยชนะเหนือชาว Native บ้างก็ว่าเป็นวันที่ฉลองป้อมปราการ Pequet ถูกเผาในปี 1637 บ้างก็ว่าเป็นการฉลองการตายของลูกชายของหัวหน้าเผ่า Massosoit ในสงคราม King Philip เมื่อปี 1676 หรือไม่ก็เป็นการฉลองชัยชนะการปฏิวัติโค่นจักรวรรดิอังกฤษในสงคราม Sasatoga เมื่อปี 1777ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 19 มีนักประวัติ ศาสตร์ชาว New England ระบุว่าเหตุการณ์ฉลองฤดูกาลเก็บเกี่ยวเมื่อปี 1621 ถือเป็นวันแรก ของเทศกาล Thanksgiving และในปี 1846 Sarah Josepha Hale บรรณาธิการของนิตยสารGodey's Lady's Book พยายามรณรงค์ให้ Thanksgiving เป็นเทศกาลประจำชาติ...จนกระทั่งในปี 1863 ระหว่างสงครามกลางเมือง ประธานาธิบดี Abraham Lincoln ได้ประกาศ ให้มีเทศกาล Thanksgiving 2 ครั้งด้วยกันคือในเดือนสิงหาคม เพื่อเป็นการรำลึกถึงสงคราม Gettysburg และในเดือนพฤศจิกายน เพื่อเป็น การขอบคุณ... "general blessings" หรือการขอบคุณพระเจ้าที่ประทานผืนดินให้ปลูก และเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ ซึ่งพ้องกับการฉลองการเก็บเกี่ยวของชาว New England และถือใช้มาจนทุกวันนี้คือวันพฤหัสสุดท้ายของเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี...

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กระทกรก หรือ เสาวรส


กระทกรก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Passiflora foetida L.; ชื่อภาษาอังกฤษ: Fetid passionflower, Scarletfruit passionflower, Stinking passionflower) ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ รก กระโปรงทอง ละพุบาบี หญ้ารกช้าง (ใต้) ตำลึงฝรั่ง เป็นไม้เถาเลื้อยคล้ายตำลึง เถาค่อนข้างคดไปงอมา เถามีหนามเล็ก ๆ ขึ้นอยู่ห่าง ๆ โดยทั่วไป ใบเป็นใบเดี่ยว รูปใบมนโค้งผิวเรียบปลายใบแหลมโดยแยกเป็นสามแฉก ใบและเส้นใบบริเวณที่ติดต่อกันมีสีแดงเรื่อ บริเวณใกล้โคนก้านใบมีแฉกแหลมเล็กเรียงตรงกันข้ามสลับกัน ก้านใบ มีขนาดก้านไม้ขีด ยาว 5 –6 เซนติเมตร มีขนอ่อนเป็นฝอยขนาดเล็ก ดอกมีลักษณะก้านดอกยาวกว่าใบ ดอกบานออกกลมกว้าง กลีบดอกสีขาวแซมด้วยริ้วสีม่วง ผลค่อนข้างกลมขนาดปลายนิ้วมือ และห่อหุ้มด้วย “รก” ผลสุกมีสีเหลือง
ขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ด นิเวศวิทยาและการแพร่กระจายขึ้นอยู่ตามที่รกร้างหรือขอบไร่ชายนา และบริเวณป่าพื้นราบ โดยเลื้อยพันกิ่งต้นไม้อื่น ๆ
ประโยชน์ทางด้านอาหาร ยอด ใช้เป็นผักสด มีรสขมเล็กน้อย หรือลวกจิ้มกับน้ำพริกและใช้แกงเลียง ผล ใช้กินเมล็ดและเยื่อหุ้มเมล็ด ทางด้านสมุนไพร เนื้อไม้ ใช้เป็นยาควบคุมธาตุ ถอนพิษเบื่อเมาทุกชนิดและใช้รักษาบาดแผล ราก ใช้ต้มน้ำดื่มแก้ไข แก้กามโรค ใบ ใช้ตำให้ละเอียดแล้วคั้นเอาน้ำดื่มเป็นยาเบื่อและขับพยาธิ ดอก ขับเสมหะ แก้ไอ ผล แก้ปวด บำรุงปอด ใบสด ใช้พอกแก้สิว ต้น ใช้ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไอ และอาการบวม

วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Angkor Wat หรือ นครวัด


ประวัติ นครวัด สร้างขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในรัชสมัย พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ซึ่งครองราชย์อยู่ในช่วง พ.ศ. 1650-1693 ซึ่งขณะนั้นศาสนาพราหมณ์ นิกายไวษณพนิกาย (นับถือ พระวิษณุเป็นใหญ่) กำลัง รุ่งเรืองอยู่ในอาณาจักรขอมพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 จึงโปรดให้สร้างนครวัด เพื่อบูชาพระวิษณุ และนอกจากนั้นแล้ว ก็เพื่อให้เป็นที่ เก็บพระศพของพระองค์ เมื่อยามสิ้นพระชนม์แล้วด้วย ดังนั้น นครวัด จึงแตกต่างกับปราสาทอื่นๆ ตรงที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศของผู้ตาย แทนทิศตะวันออก
ตามธรรมเนียมของขอม จะมีการตั้งพระนามใหม่ ถวายกับกษัตริย์ที่สิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 นั้นมีพระนามหลังสิ้นพระชนม์ว่า "บรมวิษณุ" นครวัด จึงมีอีกชื่อว่า "บรมวิษณุมหาปราสาท" ในการสร้างปราสาท ต้องใช้หินปริมาตรหลายล้าน ลูกบาศก์เมตร ที่นำมา จากเทือกเขาพนมกุเลน ซึ่งอยู่ห่าง จากนครวัดกว่า 50 กม. โดยใช้ช้างนับพันเชือก ในการขนย้าย ใช้แรงงานนับแสนคนในการก่อสร้างตบแต่ง ใช้เวลา สร้างกว่า 30 ปี จนสิ้นรัชสมัยของ พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ก็ยังไม่แล้วเสร็จ แม้จะมีการสร้างต่อในสมัย พระเ้จ้าชัยวรมันที่ 7 และสมัย นักองค์จันทร์ ถึงกระนั้น ก็ยังไม่เสร็จ สมบูรณ์ดี นครวัดนั้น ไม่ได้เป็นเพียงศาสนสถานเท่านั้น แต่ยังเป็นราชธานีของอาณาจักรขอมด้วย ภายในนครวัด จึงมีพื้นที่กว้างใหญ่มาก มีความยาวถึง 1.5 กม. และกว้าง 1.3 กม. รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 1,219 ไร่ (2 ตารางกม.) นครวัดถูกล้อมรอบด้วยบึงน้ำขนาดใหญ่ มีสะัพานเชื่อมสู่ภายนอก เฉพาะประตูทิศตะวันตก และประตูทิศตะวันออกเท่านั้น คำว่า "นครวัด" มาจากคำว่า "นอกอร์วัด" ซึ่งคำว่า "นอกอร์" นั้น หมายถึง นคร ในสมัย นักองค์จันทร์ พระองค์ทรงนับถือศาสนาพุทธ เทวาลัยแห่งนี้จึงกลายเป็นวัด ในศาสนาพุทธ กลายเป็นที่มาของคำว่า "วัด" ใน "นอกอร์วัด" นั่นเอง เมื่อชาวฝรั่งเศสเข้ามาพบนครวัด ได้เรียกชื่อของนครวัดเพี้ยนไปจาก "นอกอร์วัด" เป็น "อังกอร์วัด" และใช้มาว่า อังกอร์วัด มาจนทุกวันนี้