วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ธนบัตรประเทศไทย

 






ประเทศไทยนำธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๕ ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยามรัตนโกสินทร ศก ๑๒๑  โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลัง ในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล การสั่งพิมพ์และนำออกใช้ธนบัตรภายในประเทศ จนกระทั่ง มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๕ กิจการทั้งปวงและอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับธนบัตร จึงถูกโอนมาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย   ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๒ ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเป็นผลสำเร็จ จึงได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศ ได้แก่ ธนบัตรแบบ ๑๑ รวมทั้งแบบอื่น ๆ เป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน 

          การจัดทำและนำออกใช้ธนบัตร เป็นหน้าที่หลักสำคัญอีกด้านหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศเป็นอย่างยิ่ง ด้วยธนบัตรเป็นเงินตราที่สามารถชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ซึ่งต้องอาศัยการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน เพื่อให้ธนบัตรไทยคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือสมเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่สำคัญในปัจจุบัน

 นับแต่เริ่มนำธนบัตรออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๕ จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยได้นำธนบัตรออกใช้รวมทั้งสิ้น ๑๖ แบบ ซึ่งแบ่งเป็นธนบัตรก่อนจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แก่ ธนบัตรแบบ ๑ - ๑๐ รวมทั้งธนบัตรแบบพิเศษและธนบัตรที่ผลิตจากโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย

วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Chinese New Year


Chinese New Year is the most important of the traditional Chinese holidays. In China, it is also known as the 'Spring Festival', the literal translation of the modern Chinese name (see Names in Chinese below). Chinese New Year celebrations traditionally ran from Chinese New Year's Day itself, the first day of the first month of the Chinese calendar, to the Lantern Festival on the 15th day of the first month. The evening preceding Chinese New Year's Day is an occasion for Chinese families to gather for the annual reunion dinner. Because the Chinese calendar is lunisolar, the Chinese New Year is often referred to as the "Lunar New Year". The next Chinese New Year's Day falls on 10 February 2013. The new year will be the year of the snake.
Chinese New Year is the longest and most important festival in the Chinese calendar. The origin of Chinese New Year is itself centuries old and gains significance because of several myths and traditions. People celebrate the Chinese New Year. Chinese New Year is celebrated in China and in countries and territories with significant Chinese populations, including Hong Kong, Macau,TaiwanSingaporeThailandIndonesiaMalaysiaMauritius,Philippines,[5][6] and also in Chinatowns elsewhere. Chinese New Year is considered a major holiday for the Chinese and has had influence on the lunar new year celebrations of its geographic neighbors.
Within China, regional customs and traditions concerning the celebration of the Chinese new year vary widely. People will pour out their money to buy presents, decoration, material, food, and clothing. It is also traditional for every family to thoroughly cleanse the house, in order to sweep away any ill-fortune and to make way for good incoming luck. Windows and doors will be decorated with red colour paper-cuts and couplets with popular themes of "good fortune" or "happiness", "wealth", and "longevity." On the Eve of Chinese New Year, supper is a feast with families. Food will include such items as pigs, ducks, chicken and sweet delicacies. The family will end the night with firecrackers. Early the next morning, children will greet their parents by wishing them a healthy and happy new year, and receive money in red paper envelopes. The Chinese New Year tradition is to reconcile, forget all grudges and sincerely wish peace and happiness for everyone.

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

อันตรายของไข่เยี้ยวม้า...



ไข่เยี่ยวม้า เป็นการถนอมอาหารโดยวิธีการหมักที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่า ชาวจีนเป็นผู้ริเริ่ม เบื้องต้นเชื่อว่าน่าจะมาจากความคิดที่จะเก็บไข่ไว้ทานนานๆ โดยการดองเกลือ ต่อมาจึงคิดค้นหากรรมวิธีต่างๆ จนกลายมาเป็น ไข่เยี่ยวม้า
ไข่เยี่ยวม้า เป็นอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกายพอๆกับไข่สด นอกจากนี้ยังสามารถเก็บไว้ได้นาน สะดวกแก่การขนส่ง มีแคลเซียมสูง การทำไข่เยี่ยวม้า ทำได้ทั้งไข่เป็ดและไข่ไก่ แต่ส่วนใหญ่ ไข่เยี่ยวม้าที่เราเห็นกันนั้น มักจะทำมาจาก ไข่เป็ด เนื่องจากไข่เป็ดมีขนาดใหญ่ และมีเปลือกที่หนา
กรรมวิธีการทำไข่เยี่ยวม้ามี 2 แบบ คือ แบบพอก คือการนำใบชา ปูนขาวเกลือป่นและขี้เถ้ามาผสมกัน แล้วใส่น้ำเย็นนวดให้เข้ากัน เสร็จแล้วนำไปพอกไข่ก่อนคลุกแกลบ
ส่วนอีกวิธีหนึ่งคือ การนำไปแช่ในน้ำที่มีส่วนผสมของสารละลายเบส ที่มี ปูนขาว เกลือ โซดาแอช ชาดำ และสังกะสีออกไซด์
วิธีนี้จะช่วยย่นระยะเวลาของการผลิตไข่เยี่ยวม้าได้ ปกติถ้าเราบริโภคไข่เยี่ยวม้า ที่มีกรรมวิธีแบบธรรมชาติก็จะไม่เกิดอันตราย
ทว่า ในปัจจุบันนี้บรรดาพ่อค้าแม่ค้ามักหัวใสเติมสารตะกั่วออกไซด์ หรือซัลไฟด์ลงในส่วนผสมที่ใช้พอกหรือแช่ เพื่อช่วยให้การเป็นไข่เยี่ยวม้า เกิดผลได้สูง ซึ่งอาจทำให้ไข่เยี่ยวม้าที่ผลิตมีสารตะกั่วปนเปื้อนได้
หากผู้บริโภครับประทานไข่เยี่ยวม้าดังกล่าวเข้าไปก็อาจเกิดอันตราย เพราะ ตะกั่วเป็นสารพิษที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรัง ถ้ารับประทานอาหารและดื่มน้ำที่มีตะกั่วปนเปื้อน เข้าสู่ร่างกายจะมีผลโดยตรงต่อเซลล์ไขกระดูก ระบบประสาท ระบบไต ผู้ป่วยมักมีอาการท้องผูก
ถ้าได้รับตะกั่วมากๆ กล้ามเนื้อกระดูก ข้อมือ ข้อเท้าอาจเป็นอัมพาต สมองบวม ชักและอาจถึงชีวิตได้ อาการเกิดพิษดังกล่าวใช้เวลานานนับเดือนจึงจะแสดงอาการ