วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

::นักเรียนม.5เข้าอบรมอุตุนิยมวิทยา อยากรู้มั้ย :') ??::

"...เนื่องจากเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2554 นักเรียนชั้นม.5 ได้เข้าอบรมเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยา ซึ่งดิฉันเองก็เป็นคนนึงที่เข้าอบรมเช่นเดียวกัน แต่ในขณะที่อบรมฉันรู้สึกกได้เลยว่ามาเพื่ออะไร อบรมไปเพื่ออะไร ในเมื่อคนทุกคนต่างคุยกันสนุกสนาน ไม่ฟังที่วิทยากรอธิบาย แต่วิทยากรไม่ได้พูดออะไร แต่ฉันรู้ดีว่าในใจของท่านวิทยากรก็อาจจะคิดอยู่เหมือนกันว่า คุยกันจัง ประมาณนี้ :') แต่ ณ ตอนนี้ดิฉันจะมาเล่าประสบการณ์ที่ได้ฟังวิทยากรอธิบายมา ว่าได้รับความรู้อะไรบ้างค่ะ..."


การพยากรณ์อากาศ
การพยากรณ์อากาศ หมายถึง การคาดหมายสภาวะของลมฟ้าอากาศรวมทั้งปรากฏการณ์ธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า โดยใช้สภาวะอากาศปัจจุบันเป็นข้อมูลเริ่มต้น
หน่วยงานของประเทศไทยที่ทำหน้าที่ในการตรวจสภาพอากาศและปรากฏการณ์ธรรมชาติเพื่อการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยที่เกิดจากธรรมชาติ คือ กรมอุตุนิยมวิทยา


ขั้นตอนการพยากรณ์อากาศ
1. ตรวจสภาพอากาศ โดยสถานีตรวจอากาศบนบกหรือทะเล จะตรวจวัดอุณหภูมิของอากาศ ความชื้น ความกดอากาศ ลม เมฆ หยาดน้ำฟ้า ทัศนวิสัย บอลลูนตรวจสภาพอากาศจะนำเครื่องมือที่จะทำการวัดอุณหภูมิ ความกดอากาศ และความชื้นไปสู่ชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโตสเฟียร์ ดาวเทียมตรวจสภาพอากาศจะอยู่ในชั้นเอกโซสเฟียร์ และสามารถถ่ายภาพพื้นผิวโลก เมฆ และพายุ ส่งข้อมูลมายังสถานีรวบรวมข้อมูลได้
2. สื่อสารข้อมูลที่ได้จากการตรวจสภาพอากาศจากสถานีต่างๆ ไปยังศูนย์พยากรณ์อากาศ
3. เขียนแผนที่อากาศ วิเคราะห์ข้อมูล และพยากรณ์อากาศ โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณ แล้วส่งข้อมูลการพยากรณ์อากาศไปยังหน่วยงานสื่อสารมวลชน


การอ่านแผนที่อากาศ
แผนที่อากาศ คือ แผนที่ที่แสดงองค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ข้อมูลต่างๆ ในแผนที่อากาศได้รับมาจากสถานีตรวจอากาศ แล้วนำข้อมูลมาเขียนเป็นตัวเลข รหัส และสัญลักษณ์ต่างๆ ทางอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลที่อยู่ในแผนที่อากาศจะนำไปใช้ในการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศที่จะเกิดขึ้น
ตัวอย่างสัญลักษณ์ทางอุตุนิยมวิทยาบนแผนที่อากาศ
1. เส้นโค้งที่เชื่อมต่อระหว่างบริเวณที่มีความกดอากาศเท่ากัน เรียกว่า เส้นไอโซบาร์ (Isobar) ตัวเลขบนเส้นไอโซบาร์แสดงค่าความกดอากาศที่อ่านได้ซึ่งอาจอยู่ในหน่วยมิลลิบาร์ หรือนิ้วของปรอท
2. เส้นโค้งที่เชื่อมต่อระหว่างบริเวณที่มีอุณหภูมิของอากาศเท่ากัน เรียกว่า เส้นไอโซเทอร์ม (Isotherm) ค่าอุณหภูมิอาจบอกในหน่วยองศาเซลเซียส หรือองศาฟาเรนไฮต์ หรือทั้งสองหน่วย
3. อักษร H คือ ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศสูง
4. อักษร L คือ ศูนย์กลางของบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น