วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

อันตรายจากเส้นก๋วยเตี๋ยว...



...วันหนึ่งฉันไปกินก๋วยเตี๋ยวกับน้องฉันสั่งเส้นเล็กมากิน ฉันสงสัยว่าทำไมคนเลือกที่จะกินก๋วยเตี๋ยวเป็นอันดับสองรองจากข้าว และฉันก็คิดอีกว่าเส้นก๋วยเตี๋ยวมันมีอันตรายรึป่าวคนถึงเลือกที่จะกิน ฉันเลยลองมาค้นหาดู...


<< อันตรายจากเส้นก๋วยเตี๋ยว >> อันตรายจากเส้นเล็กและเส้นหมี่ ถ้ารับประทานมากๆ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคตับและโรคไตสูง ผลวิจัยชี้เส้นก๋วยเตี๋ยวมหาภัย เติมสารกันบูดเกินมาตรฐานอื้อโดยเฉพาะเส้นเล็ก และเส้นหมี่ เสี่ยงตับไตพัง


เผยบะหมี่เหลือง-วุ้นเส้นปลอดภัยกว่า แนะผู้ประกอบการอย่าโลภผลิตขายข้ามจังหวัดจนต้องใส่สารกันบูด จำนวนมาก ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่คนไทยนิยมบริโภค และเส้นก๋วยเตี๋ยวเป็นวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารได้หลายชนิด ทำให้มีการแข่งขันทางการตลาดสูง จากก๋วยเตี๋ยวส่วนใหญ่เป็นเส้นสดที่ค้างหลายวันไม่ได้ ผู้ประกอบการจึงมีการเติมสารกันบูด เพื่อยืดอายุเส้นก๋วยเตี๋ยว ทำให้ยืดระยะเวลาการจำหน่าย ซึ่งสารกันบูดที่นิยมใช้คือ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก


ถ้าร่างกายได้รับปริมาณสูงเป็นเวลานานจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง ดังนั้น คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานอาหารสากล (Codex) ได้กำหนดให้ใช้กรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม


ผลการตรวจวิเคราะห์พบปริมาณกรดเบนโซอิกตั้งแต่ 1,079-17,250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณที่กำหนดกรดเบนโซอิกในเส้นก๋วยเตี๋ยวตามมาตรฐานสากล โดย


ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก 17,250 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เส้นหมี่ 7,825 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ก๋วยจั๊บเส้นใหญ่ 7,358 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ก๋วยจั๊บเส้นเล็ก 6,305 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม บะหมี่โซบะ 4,593 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 4,230 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม


ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าวว่า จากผลวิจัยดังกล่าวทำให้ความเชื่อเดิม ที่คิดว่าเส้นหมี่ ซึ่งมีลักษณะแห้งจะมีวัตถุกันเสียน้อย แต่จะพบมากในเส้นใหญ่ที่มีความชื้นสูงนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า กลับมีการใส่วัตถุกันเสียเยอะมากเป็นอันดับ 2 รองจากเส้นเล็ก ส่วนเส้นที่ไม่พบสารเลยคือ เส้นบะหมี่เหลืองเพราะผลิตจากแป้งสาลี ส่วนเส้นอื่นๆ จะผลิตจากแป้งข้าวเจ้าที่มีความชื้นสูง ทำให้ราขึ้นง่าย จึงมีการใส่วัตถุกันเสีย ขณะที่วุ้นเส้นไม่มีปัญหาเช่นกัน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น