วันพฤหัสบดีที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2554

:: สมเกียรติ อ่อนวิมล ::




ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการสื่อสารมวลชน และประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยวิทัศน์ จำกัด อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2539 อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสุพรรณบุรี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2549



ประวัติ


ดร.สมเกียรติ เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2491 ที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี จบการศึกษาชั้นมัธยมจากจังหวัดสุพรรณบุรี แล้วเข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยครูจันทรเกษม ระหว่างนั้นก็ได้รับทุนเอเอฟเอส เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนไปศึกษาที่รัฐมิสซูรี สหรัฐอเมริกา และกลับมาเรียนต่อจนจบ เมื่อปี พ.ศ. 2514 เข้าเรียนคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาสอบชิงทุนประเทศอินเดียได้ จึงลาออกไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งอินเดีย กรุงนิวเดลี จนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ และได้ทุนไปศึกษาปริญญาเอก สาขาการศึกษาภูมิภาคเอเชียใต้ ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา


ชีวิตครอบครัว ดร.สมเกียรติ สมรสกับ ธัญญา ธัญญขันธ์ มีบุตรชายคนเดียวคือ ธัญญ์ อ่อนวิมล ในเวลาว่าง ชอบฟังเพลงลูกทุ่ง และเลี้ยงแมว


การทำงาน


ดร.สมเกียรติ เข้าเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเริ่มเข้าสู่วงการโทรทัศน์ โดยเป็นพิธีกรรายการ ความรู้คือประทีป ทางช่อง 9 อ.ส.ม.ท. และเริ่มเข้าสู่วงการข่าวโทรทัศน์ ในรายการข่าวทันโลกช่วงดึก

เมื่อปี
พ.ศ. 2528 ดร.สมเกียรติ ร่วมกับ นายปีย์ มาลากุล ณ อยุธยา ก่อตั้งบริษัท แปซิฟิค อินเตอร์คอมมิวนิเคชั่น จำกัด โดยเข้าร่วมผลิต ข่าว 9 อ.ส.ม.ท. ในเวลา 20.00 น. จากเดิมที่เป็นเฉพาะการอ่านข่าวในพระราชสำนัก และข่าวประชาสัมพันธ์ของรัฐบาล มีการปรับปรุง ทั้งรูปแบบการนำเสนอ และเนื้อหารายการ มีผู้ประกาศข่าวรุ่นใหม่เช่น นิรมล เมธีสุวกุล, ยุพา เพชรฤทธิ์, สุริยง จองรีพันธ์, อนุชิต จุรีเกษ, ลดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์, ศศิธร ลิ้มศรีมณี, สาธิต ยุวนันทการุญ, อรุณโรจน์ เลี่ยมทอง รวมทั้งวิทวัส สุนทรวิเนตร์ ที่รายงานพยากรณ์อากาศในรูปแบบใหม่ และผู้ประกาศข่าวรุ่นใหญ่เช่น กรรณิกา ธรรมเกษร หรือ ประชา เทพาหุดี



ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2531 ดร.สมเกียรติ มีความขัดแย้งในเรื่องนโยบายทำข่าวกับ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กำกับดูแล อ.ส.ม.ท. จึงลาออกไปร่วมงานกับ ฝ่ายข่าว ของช่อง 7 สี เป็นระยะสั้นๆ และขอลาออก หลังมีปัญหาจากรายงานข่าว อาการป่วยของ หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช จากนั้น ดร.สมเกียรติ เข้าร่วมผลิตข่าว ททบ.5 เป็นผู้บุกเบิกรายการข่าว โดยริเริ่มผลิตรายการ เช้าวันนี้ และคลื่นวิทยุ จส. 100 รายงานข่าวการจราจร พร้อมทั้งผลิตรายงานข่าวต้นชั่วโมง แก่สถานีวิทยุในเครือกองทัพบกทั่วประเทศ



ดร.สมเกียรติ ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ในช่วงก่อนหน้า และช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 เมื่อ จส. 100 รายงานข่าวไม่ตรงกับความจริง โดยออกข่าวและความเห็นในเชิงเป็นผลลบ ต่อการชุมนุมต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคณะ รสช. หลังจากนั้น ดร.สมเกียรติ เข้าบริหารรายการทาง สทท.11 อยู่ระยะหนึ่ง ก่อนจะลงสมัครเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อ พ.ศ. 2539 รับตำแหน่งคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตในระยะสั้นๆ เมื่อปี พ.ศ. 2542 และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543 โดยร่วมใน คณะกรรมาธิการ กิจการองค์กรอิสระ กิจการโทรคมนาคม และธุรกิจสถาบันการเงิน ของวุฒิสภาด้วย



ดร.สมเกียรติ ได้รับแต่งตั้งเป็น ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานข่าว และผู้อำนวยการฝ่ายข่าว สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ของ บมจ.ไอทีวี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ภายหลังเครือเนชั่นถอนตัว แต่ก็อยู่ในตำแหน่งเพียงเวลาไม่ถึงสองเดือน



ดร.สมเกียรติ เคยจัดรายการวิทยุเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เช่นรายการ โลกยามเช้า, โลกยามเย็น, ลูกทุ่งคนดัง, ลูกทุ่งเวทีไท และคุยเฟื่องเรื่องไทย แต่ปัจจุบันไม่ได้จัดแล้ว เนื่องจากหลายสาเหตุ เช่นการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยเจ้าของคลื่น การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ฯลฯ คงเหลือเพียงรายการเดียว คือรายการโทรทัศน์โลกยามเช้า ทางช่อง 3 ที่ปัจจุบันมิได้ดำเนินรายการเองแล้ว


ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 ดร.สมเกียรติ เขียนบทความปกป้อง ร้อยโทหญิงสุณิสา เลิศภควัต ผู้เขียนหนังสือ ทักษิณ Where are you? จากการเดินทางไปสัมภาษณ์ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ที่สหราชอาณาจักร เพื่อนำมาเขียนเป็นหนังสือว่า เป็นการกระทำตามหน้าที่ของสื่อมวลชน และกล่าวโจมตีสื่อในเครือผู้จัดการ ที่เสนอข่าวทำลายความน่าเชื่อถือของ ร้อยโทหญิงสุณิสา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น